วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คำพังเพยที่7

                                         เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า 
                                หมายถึง   คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถืออยู่แล้ว

คำพังเพยที่6


                                          ขว้างงูไม่พ้นคอ
                    หมายถึง   มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถที่จะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้

คำพังเพยที่5



                                      ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
             หมายถึง   ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันกัน

คำพังเพยที่4

                                              กงเกวียนกำเกวียน





                              หมายถึง   สิ่งที่เกิดตามกันมา

          เกวียนเป็นพาหนะที่ใช้กันทั่วไปในสมัยก่อน  กงเกวียนเป็นส่วนรอบล้อเกวียน  กำเกวียนเป็นซี่ล้อมีดุมเป็นส่วนกลางของล้อที่มีรูสำหรับสอดเพลา  เมื่อกงเกวียนหมุนไปทางใด  กำเกวียนก็หมุนไปด้วย

          สำนวนนี้ใช้เปรียบกับการกระทำของมนุษย์  ว่าผู้ใดทำกรรมอย่างใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้น  มีความหมายเช่นเดียวกับสำนวน  "วัวของใครเข้าคอกคนนั้น"               สิ่งที่เกิดตามกันมา

          เกวียนเป็นพาหนะที่ใช้กันทั่วไปในสมัยก่อน  กงเกวียนเป็นส่วนรอบล้อเกวียน  กำเกวียนเป็นซี่ล้อมีดุมเป็นส่วนกลางของล้อที่มีรูสำหรับสอดเพลา  เมื่อกงเกวียนหมุนไปทางใด  กำเกวียนก็หมุนไปด้วย
          สำนวนนี้ใช้เปรียบกับการกระทำของมนุษย์  ว่าผู้ใดทำกรรมอย่างใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้น  มีความหมายเช่นเดียวกับสำนวน  "วัวของใครเข้าคอกคนนั้น"

คำพังเพยที่ 3



                                                        ก้นต้องไปหาล่อง

                                     หมายถึง       เมื่อต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด  ก็ต้องขวนขวายไปพบผู้นั้น
         ล่องเป็นช่องที่พื้นเรือนซึ่งทำไว้สำหรับทิ้งสิ่งของลงไป  คนสมัยก่อนจะถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงไปทางช่องนี้ด้วย  ก้นใน ที่                  นี้หมายถึงก้นของผู้ที่ต้องการขับถ่าย
         สำนวนนี้บางทีกล่าวต่อไปว่า  "ก้นต้องไปหาล่อง  ไม่ใช่ล่องไปหาก้น"

คำพังเพยที่ 2



                                                  กบในกะลาครอบ

                                       หมายถึง     คนที่ขาดวิสัยทัศน์  มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น
                               เปรียบเทียบกบที่อยู่ใต้กะลาครอบสามารถมองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ใต้กะลาเท่านั้น

คำพังเพยที่ 1



                                                       กบเลือกนาย

                                หมายถึง     คนช่างเลือก  เลือกจนตัวเองเดือดร้อน
          สำนวนนี้มาจากนิทานอีสปเรื่อง  กบเลือกนาย  ซึ่งเล่าว่า  กบขอให้เทวดาส่งนายลงมาให้  เทวดาส่งขอนไม้ลงมา  แต่กบเลือกมาก  เทวดาจึงส่งนกกระสาซึ่งชอบกินกบลงมาให้  นกกระสาจึงกินกบจนหมด